Ballet
การเต้นรำเพื่อความบันเทิง เฟื่องฟูช่วงปลายศตวรรษที่ 15-16 ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าการแสดงโลดโผน ละครใบ้ บทสนทนา และบทเพลงผสมผสานกัน มีจุดประสงค์รับใช้ราชสำนักเป็นหลัก ประชาชนเป็นรอง
สำหรับบัลเล่ต์เป็นศิลปะการเต้นรำที่พระนางแคเธอรีนแห่งเมดีซี (Catherine de Medici) นำไปพัฒนาที่ฝรั่งเศส เมื่อพระนางอภิเษกกับกษัตริย์อองรีที่ 2 ในตอนนั้นการแสดงบัลเล่ต์กินเวลานานกว่า 5 ชั่วโมง
บัลเล่ต์ทำให้สตรีในราชสำนักมีโอกาสร่วมเต้นรำด้วย หลังจากที่เคยจำกัดอยู่ในวงของบุรุษ แต่บทนางเอกของเรื่องก็ยังกำหนดให้ผู้ชายแสดงอยู่ดี ส่วนผู้หญิงได้เล่นแต่บทเล็กๆ นอกจากนั้นผู้หญิงยังถูกจำกัดท่าทางการเต้นด้วยเครื่องแต่งกายที่ฟูยาว ขณะที่ผู้ชายแต่งตัวด้วยชุดรัดรูป ทำให้มีอิสระในการเคลื่อนไหวขามากกว่าไม่ว่า การหมุน การซอยเท้า การกระโดดซับซ้อนขึ้น รวมทั้งการยืนบนปลายเท้า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการเต้นบัลเล่ต์
Ballet-บัลเลต์ ว่า เป็นศัพท์ฝรั่งเศสที่มีรากฐานจากภาษาอิตาเลียน BALLARE, BALLO และ BALLETO หมายถึงการเต้นรำ ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ศตวรรษ 15-16 มีการรวมเอาการแสดงดั้งเดิมคือ Interludes ที่มีนักร้องและนักเต้น Masquerades นักแสดงสวมหน้ากากอ่านบทกวีหรือเล่าเรื่อง และ Mummers การเต้นสวมหน้ากาก เข้าด้วยกัน
จุดสูงสุดเปลี่ยนจากอิตาลีเป็นราชสำนักฝรั่งเศส สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (ค.ศ.1643-1715) การแสดงออกจากบอลรูมมาขึ้นเวทียกพื้น ผู้ชมที่เคยอยู่รอบเปลี่ยนมาอยู่ด้านหน้านักแสดง และแม้มีนักเต้นอาชีพหญิงมาปรากฏบนเวที แต่นักเต้นชายยังคงเป็นดาวดวงเด่นเพราะไม่มีกระโปรงบานหนักและวิกผมทรงหอคอยเป็นอุปสรรค เคลื่อนไหวได้อิสระทุกลีลา
บัลเลต์เป็นศิลปะเต็มรูปแบบในศตวรรษที่ 18 เล่าเรื่องโดยไม่มีคำพูด แยกตัวละครจากเพลง เน้นการแสดงลีลา เครื่องแต่งกายเปลี่ยนเป็นชุดรัดรูปแสดงความไม่มีแบบแผนและไม่หรูหรา แรงกระทบทางการเมือง เศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส และการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่งผลถึงศิลปะ บัลเลต์มาอยู่ในความสนับสนุนของชนชั้นกลาง แทนการอุปถัมภ์จากราชสำนัก มีการเปลี่ยนแปลงทางการแสดงอีกครั้ง การขึ้นปลายเท้าเป็นที่นิยมพร้อมเครื่องแต่งกายอย่างชุดฟิตช่วงอก กระโปรงบานทรงระฆัง สีขาวนวล ที่ยืนยงถึงทุกวันนี้
การเต้นแต่ละประเภท
วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555
Poppin
Poppin
poppin หรือ popping เป็นการเต้นผสมระหว่าง Funk dance and street dance แต่
เป็นการเต้นที่ต้องอาศัยการกระตุกของกล้ามเนื้อ หรือข้อต่ออะไรอวัยวะ ส่วนต่างๆ อาศัย
ความเร็วเร็วที่ผู้เต้นใช้ในการจัดท่าต่างๆระบบร่างกายให้ลงตัว โดยมีการเต้นมาตั้งแต่ปี
1980 ที่ California โดยกลุ่ม popping ที่ชื่อกลุ่มว่า Electic Boogaloos แต่ถ้าพูดถึงศิลปิน
เดี่ยวที่ปลุกกระแสการเต้นนี้คือ "Michael jackson" The king of pop ของโลก.
ท่าเต้นแต่ละท่าของ popping ที่ทุกคนที่เต้นประเภทนี้มี
1. Liquid dancing
คือท่าเต้นที่ผู้เต้นจิตนาการว่าเราเป็นของเหลว ไม่ว่าจะเป็นนิ้ว แขน ขา เท้า ให้เคลื่อนไหวต่อเนื่องกัน
2. Animation
คือท่าเต้นที่ทำท่าเลียนแบบภาพ เช่น ยกกระเป๋าไม่ขึ้น เดินอยู่กับที่ ETC. ไปทีละเฟรมๆ เป็นภาพต่อเนื่องกัน ใครที่ทำได้เนียนๆก็จะมองคล้ายการ์ตูน Animation
3. Robot
คือท่าเต้นของหุ่นยนต์ที่อาจจะดูละเอียด แต่มันทำให้ผู้ชมนั้นแปลกตา ตกใจได้ก็มีเป็นบางส่วน ทำแล้วดูเทห์ มีสเนห์ภายในตัว
4. Slow motion
คือท่าเต้นที่เชื่องช้า ดูไหลๆลื่นๆหน่อย แต่เ็ป็นท่าเต้นที่ผู้เต้นเกร็งมาก ดูสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง
5. Wave
คือท่าเต้นที่ทำร่างกายเหมือนคลื่นทะเล และมีความต่อเนื่องคล้ายๆกับท่า Liquid dancing ดูมีความละเอียดมากกว่า
poppin หรือ popping เป็นการเต้นผสมระหว่าง Funk dance and street dance แต่
เป็นการเต้นที่ต้องอาศัยการกระตุกของกล้ามเนื้อ หรือข้อต่ออะไรอวัยวะ ส่วนต่างๆ อาศัย
ความเร็วเร็วที่ผู้เต้นใช้ในการจัดท่าต่างๆระบบร่างกายให้ลงตัว โดยมีการเต้นมาตั้งแต่ปี
1980 ที่ California โดยกลุ่ม popping ที่ชื่อกลุ่มว่า Electic Boogaloos แต่ถ้าพูดถึงศิลปิน
เดี่ยวที่ปลุกกระแสการเต้นนี้คือ "Michael jackson" The king of pop ของโลก.
ท่าเต้นแต่ละท่าของ popping ที่ทุกคนที่เต้นประเภทนี้มี
1. Liquid dancing
คือท่าเต้นที่ผู้เต้นจิตนาการว่าเราเป็นของเหลว ไม่ว่าจะเป็นนิ้ว แขน ขา เท้า ให้เคลื่อนไหวต่อเนื่องกัน
2. Animation
คือท่าเต้นที่ทำท่าเลียนแบบภาพ เช่น ยกกระเป๋าไม่ขึ้น เดินอยู่กับที่ ETC. ไปทีละเฟรมๆ เป็นภาพต่อเนื่องกัน ใครที่ทำได้เนียนๆก็จะมองคล้ายการ์ตูน Animation
3. Robot
คือท่าเต้นของหุ่นยนต์ที่อาจจะดูละเอียด แต่มันทำให้ผู้ชมนั้นแปลกตา ตกใจได้ก็มีเป็นบางส่วน ทำแล้วดูเทห์ มีสเนห์ภายในตัว
4. Slow motion
คือท่าเต้นที่เชื่องช้า ดูไหลๆลื่นๆหน่อย แต่เ็ป็นท่าเต้นที่ผู้เต้นเกร็งมาก ดูสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง
5. Wave
คือท่าเต้นที่ทำร่างกายเหมือนคลื่นทะเล และมีความต่อเนื่องคล้ายๆกับท่า Liquid dancing ดูมีความละเอียดมากกว่า
Jazz
Jazz
การเต้นแจ๊ส (Jazz Dance) การเต้นแจ๊สเป็นรูปแบบการเต้นชนิดหนึ่งของชาวแอฟริกันอเมริกันในประเทศอเมริกา
ที่ เกิดในช่วงต้นค.ศ. 20 เป็นการเต้นรำเพื่อความสนุกสนานและเพื่อการเข้าสังคม เป็นการเต้นเข้ากับจังหวะของ
ชาวแอฟริกันที่ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวโดยการแยกส่วนต่างๆของร่างกาย (Isolation) ออกแล้วประดิษฐ์เป็นท่าเต้น
ในลักษณะต่างๆ คำว่าแจ๊สแดนซ์เริ่มใช้กันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และในช่วงประมาณปีค.ศ.1920 เป็นต้นมา
การเต้นแจ๊สแดนซ์ก็กลายมาเป็นการเต้นของพวกผิวขาว
การเต้นแจ๊สมักเป็นการเต้นกับเพลงที่มีจังหวะเร็ว เช่นในจังหวะสวิง (Swing) หรือชาร์ลสตัน (Charleston)
เป็นต้น เนื่องจากเป็นการเต้นที่ง่าย มีจังหวะเร็วและสนุกสนานจึงทำให้เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว ต่อมาได้มีการพัฒนา
ท่าเต้นโดยเป็นการเต้นกับดนตรีแจ๊ส และพัฒนาขึ้นเป็นการเต้นที่มีเทคนิคและมีหลักเกณฑ์มากขึ้น การเต้นแจ็ส
แดนซ์เป็นที่นิยมมากในช่วงยุค 1950 เนื่องจากมีการแสดงในรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์เพลง และมีการแสดงใน
บาร์อย่างแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยลักษณะของการนำเสนอจะเป็นการเต้นแจ๊สแดนซ์ผสมกับการเต้น
แท็ปแดนซ์ (Tap Dance) ซึ่งเรียกว่าการเต้นเพื่อการแสดง (Theatre Dance) หรือการเต้นแจ็สแดนซ์ผสมกับ
การเต้นบัลเล่ต์ (Ballet) เรียกว่าเป็นการเต้นแบบโมเดอร์นแจ๊ส (Modern Jazz) ซึ่งจะเป็นการเต้นที่มีจังหวะช้า
กว่าและผู้เต้นจะต้องมีความสามารถในการเต้นเทคนิคบัลเล่ต์เป็นอย่างดีจึงจะเต้นได้สวยงามและเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ที่ได้ชม
เนื่องจากการเต้นแจ๊สแดนซ์ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นการเต้นเพื่อการแสดงดังนั้นนักเต้นแจ๊สแดนซ์อาชีพ จึงควรจะต้องมี
ทั้งรูปร่างที่สมส่วน หน้าตาที่สวยงามหรือสามารถแต่งให้สวยงามได้ และความสามารถที่โดดเด่นจึงจะประสบความ
สำเร็จในอาชีพ
เต้นแจ๊ส (Jazz Dance)
|
ที่ เกิดในช่วงต้นค.ศ. 20 เป็นการเต้นรำเพื่อความสนุกสนานและเพื่อการเข้าสังคม เป็นการเต้นเข้ากับจังหวะของ
ชาวแอฟริกันที่ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวโดยการแยกส่วนต่างๆของร่างกาย (Isolation) ออกแล้วประดิษฐ์เป็นท่าเต้น
ในลักษณะต่างๆ คำว่าแจ๊สแดนซ์เริ่มใช้กันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และในช่วงประมาณปีค.ศ.1920 เป็นต้นมา
การเต้นแจ๊สแดนซ์ก็กลายมาเป็นการเต้นของพวกผิวขาว
การเต้นแจ๊สมักเป็นการเต้นกับเพลงที่มีจังหวะเร็ว เช่นในจังหวะสวิง (Swing) หรือชาร์ลสตัน (Charleston)
เป็นต้น เนื่องจากเป็นการเต้นที่ง่าย มีจังหวะเร็วและสนุกสนานจึงทำให้เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว ต่อมาได้มีการพัฒนา
ท่าเต้นโดยเป็นการเต้นกับดนตรีแจ๊ส และพัฒนาขึ้นเป็นการเต้นที่มีเทคนิคและมีหลักเกณฑ์มากขึ้น การเต้นแจ็ส
แดนซ์เป็นที่นิยมมากในช่วงยุค 1950 เนื่องจากมีการแสดงในรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์เพลง และมีการแสดงใน
บาร์อย่างแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยลักษณะของการนำเสนอจะเป็นการเต้นแจ๊สแดนซ์ผสมกับการเต้น
แท็ปแดนซ์ (Tap Dance) ซึ่งเรียกว่าการเต้นเพื่อการแสดง (Theatre Dance) หรือการเต้นแจ็สแดนซ์ผสมกับ
การเต้นบัลเล่ต์ (Ballet) เรียกว่าเป็นการเต้นแบบโมเดอร์นแจ๊ส (Modern Jazz) ซึ่งจะเป็นการเต้นที่มีจังหวะช้า
กว่าและผู้เต้นจะต้องมีความสามารถในการเต้นเทคนิคบัลเล่ต์เป็นอย่างดีจึงจะเต้นได้สวยงามและเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ที่ได้ชม
เนื่องจากการเต้นแจ๊สแดนซ์ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นการเต้นเพื่อการแสดงดังนั้นนักเต้นแจ๊สแดนซ์อาชีพ จึงควรจะต้องมี
ทั้งรูปร่างที่สมส่วน หน้าตาที่สวยงามหรือสามารถแต่งให้สวยงามได้ และความสามารถที่โดดเด่นจึงจะประสบความ
สำเร็จในอาชีพ
การเต้น B-Boy (Break Dance)
คือคนที่ชื่อชอบวัฒนธรรมฮิปฮอป โดยฉพาะอย่างยิ่ง การเต้นเบรกแดนซ์ ที่มาของคำมาจากดีเจ
ฮิปฮอปที่ชื่อ ดีเจ Kool Herc ที่สังเกตว่ามีการตอบรับกลุ่มนักเต้นในขณะที่เขาเปิดเพลงอยู่ โดยได้ตั้ง
ชื่อเขาว่าเป็น Beat Boy.
เบรกกิ้ง (Breaking) หรือ บี-บอยอิ่ง (b-boying) โดยทั่วไปจะเรียกกัน
ในชื่อ Breakdance (เบรกแดนซ์) เป็นรูปแบบการเต้นที่
พัฒนา ในส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมฮิปฮอป ในกลุ่มวัยรุ่นคนดำและละตินอเมริกา ในเซาท์บรองซ์ใน
ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1970 คำว่า บี-บอย มาจากคำว่า เบรกบอย (break boy) ด้วยเหตุผลที่พวก
เขาจะเป็นพวกเต้นโดยเฉพาะ โดยจะเต้นทั้งในแนวเพลงฮิปฮอป, ฟังค์ และ แนวเพลงอื่น ๆ ด้วยที่
มักเป็นดนตรีรีมิกซ์ ที่คั่นระหว่างเพลงพัก
4 องค์ประกอบเบื้องต้นมาจากรากฐานในการเต้น เบรกกิ้ง (Breaking)
1. (TopRock) คำศัพท์ที่ว่านี้จะหมายถึง เป็นการเต้นที่ มีรูปแบบเป็นลักษณะยืนเต้นซึ่งแปลตรงตัวเลยตามคำคือ Top แปลว่าด้านบน Rock คือการเขย่าหรือโยก นั่นเอง
2. (Downrock) แปลตรงตัวอีกเช่นกัน คือ Down แปลว่า ด้านล่าง Rock แปลว่าเขย่าหรือโยก แปลรวมกันคือ การเต้นแบบด้านล่าง ซึ่งจะเรียกกันอีกอย่างว่า ฟุตเวิร์ก (Footwork) เป็นการเต้นลงบนพื้น
3. (Freeze) เป็นท่าจบ โดยจะ จะหยุดโพสท่าต่างๆ เมื่อต้องการที่จะทำการจบการเต้น หรือ ต้องการหยุดตามจังหวะเพลง อาจจะเป็นท่าโพสท่าแบบธรรมดา หรือ เป็นท่าที่ผาดโผนก็ได้
4. (Powermove) เป็นท่าที่ใช้พลังของ ร่างกายและแรงเหวี่ยง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเล่นท่าที่ผาดโผนโดยเป็นส่วนของในการเคลื่อนไหว ในการทำท่าหมุนบนพื้นหรือบนอากาศ
คือคนที่ชื่อชอบวัฒนธรรมฮิปฮอป โดยฉพาะอย่างยิ่ง การเต้นเบรกแดนซ์ ที่มาของคำมาจากดีเจ
ฮิปฮอปที่ชื่อ ดีเจ Kool Herc ที่สังเกตว่ามีการตอบรับกลุ่มนักเต้นในขณะที่เขาเปิดเพลงอยู่ โดยได้ตั้ง
ชื่อเขาว่าเป็น Beat Boy.
เบรกกิ้ง (Breaking) หรือ บี-บอยอิ่ง (b-boying) โดยทั่วไปจะเรียกกัน
ในชื่อ Breakdance (เบรกแดนซ์) เป็นรูปแบบการเต้นที่
พัฒนา ในส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมฮิปฮอป ในกลุ่มวัยรุ่นคนดำและละตินอเมริกา ในเซาท์บรองซ์ใน
ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1970 คำว่า บี-บอย มาจากคำว่า เบรกบอย (break boy) ด้วยเหตุผลที่พวก
เขาจะเป็นพวกเต้นโดยเฉพาะ โดยจะเต้นทั้งในแนวเพลงฮิปฮอป, ฟังค์ และ แนวเพลงอื่น ๆ ด้วยที่
มักเป็นดนตรีรีมิกซ์ ที่คั่นระหว่างเพลงพัก
4 องค์ประกอบเบื้องต้นมาจากรากฐานในการเต้น เบรกกิ้ง (Breaking)
1. (TopRock) คำศัพท์ที่ว่านี้จะหมายถึง เป็นการเต้นที่ มีรูปแบบเป็นลักษณะยืนเต้นซึ่งแปลตรงตัวเลยตามคำคือ Top แปลว่าด้านบน Rock คือการเขย่าหรือโยก นั่นเอง
2. (Downrock) แปลตรงตัวอีกเช่นกัน คือ Down แปลว่า ด้านล่าง Rock แปลว่าเขย่าหรือโยก แปลรวมกันคือ การเต้นแบบด้านล่าง ซึ่งจะเรียกกันอีกอย่างว่า ฟุตเวิร์ก (Footwork) เป็นการเต้นลงบนพื้น
3. (Freeze) เป็นท่าจบ โดยจะ จะหยุดโพสท่าต่างๆ เมื่อต้องการที่จะทำการจบการเต้น หรือ ต้องการหยุดตามจังหวะเพลง อาจจะเป็นท่าโพสท่าแบบธรรมดา หรือ เป็นท่าที่ผาดโผนก็ได้
4. (Powermove) เป็นท่าที่ใช้พลังของ ร่างกายและแรงเหวี่ยง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเล่นท่าที่ผาดโผนโดยเป็นส่วนของในการเคลื่อนไหว ในการทำท่าหมุนบนพื้นหรือบนอากาศ
B-Boy สมัยนี้ ส่วนใหญ่มาจากวันยรุ่นที่กำลังโต เพื่อที่จะแสดงความเป็นตัวตน โดยแสดงความสามารถและความเป็นตัวตนของตัวเองออกมาเพื่อให้คนอื่นยอมรับในสังคม.
การเต้นเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ใช้ความรู้สึกและความสามารถที่กลั่นออกมาจากใจเพื่อแสดงให้ผู้คนได้รับชม
Hip-Hop
มีความหมายถึงในด้านดนตรีแนวฮิปฮอป ที่เป็นที่นิยมสำหรับวัยรุ่นอเมริกาและทั่วโลก จนถูกยกระดับให้เป็น
วัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีรากฐานการพัฒนามาจากชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และ ชาวละติน โดยในช่วงยุค 70' หลังจาก
ที่ดนตรีดิสโก้ที่พัฒนามาจาก แนวเพลง ฟังค์ ในแบบของโมทาวน์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้มีการเปิด
แผ่นเพลงในคลับต่าง ๆ และด้วยการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เกิดการสร้าง loop, beat ใหม่ ๆ ขึ้นมา ดนตรีฮิปฮอป จึงถือกำเนิดขึ้น
ประวัติ คำว่า ฮิปฮอป มักถูกยกเครดิตให้กับ Keith Cowboy แร็ปเปอร์วง Grandmaster Flash & The Furious
Five ถึงแม้ว่าในยุคนั้นศิลปินอย่าง LoveBug Starski, Keith Cowboy, และ DJ Hollywood จะถูกเรียกในนามของ
"Disco Rap" แต่เครดิตก็มักยกให้กับ Keith Cowboy
ในช่วงยุค 70' เมื่อวัยรุ่นในย่านละแวกใกล้เคียงต้องการจะจัดงานปาร์ตี้ รื่นเริง (block party) ดนตรีฮิปฮอปจึงได้รับการแพร่ขยายเป็นที่รู้จัก ซึ่งฮิปฮอปก็ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ว่าเป็นแนวดนตรีชนิดหนึ่งอีกต่อไป แต่ยังได้รับการยกระดับให้เป็น วัฒนธรรมอย่างหนึ่งด้วย โดย วัฒนธรรมฮิปฮอปจะเกิดขึ้นได้โดยต้องมีปัจจัย 4 อย่าง คือ
1. Graffiti เป็นการพ่น เพนท์ เขียนบนกำแพงความหมายเพื่อการเชื้อเชิญ แขก หรือสาว ๆ ในละแวกนั้นว่า งานปาร์ตี้เริ่มที่ไหนเมื่อไหร่
2. DJ (Disc jockey) ทำหน้าที่เป็นผู้เปิดแผ่นเพลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานปาร์ตี้
3. B-Boy เป็นกลุ่มคนที่มาเต้นในช่วงระหว่างที่ดีเจกำลังเซ็ทแผ่นเพลง เพื่อเป็นการคั่นเวลา ซึ่งลักษณะการเต้น
4. MC เป็นแร็ปเปอร์ซึ่งหลังจากที่ ดีเจ เซ็ทแผ่นเรียบร้อยแล้ว MC จะทำหน้าที่ดำเนินงาน และงานปาร์ตี้ก็ได้เริ่มขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)