Ballet
การเต้นรำเพื่อความบันเทิง เฟื่องฟูช่วงปลายศตวรรษที่ 15-16 ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าการแสดงโลดโผน ละครใบ้ บทสนทนา และบทเพลงผสมผสานกัน มีจุดประสงค์รับใช้ราชสำนักเป็นหลัก ประชาชนเป็นรอง
สำหรับบัลเล่ต์เป็นศิลปะการเต้นรำที่พระนางแคเธอรีนแห่งเมดีซี (Catherine de Medici) นำไปพัฒนาที่ฝรั่งเศส เมื่อพระนางอภิเษกกับกษัตริย์อองรีที่ 2 ในตอนนั้นการแสดงบัลเล่ต์กินเวลานานกว่า 5 ชั่วโมง
บัลเล่ต์ทำให้สตรีในราชสำนักมีโอกาสร่วมเต้นรำด้วย หลังจากที่เคยจำกัดอยู่ในวงของบุรุษ แต่บทนางเอกของเรื่องก็ยังกำหนดให้ผู้ชายแสดงอยู่ดี ส่วนผู้หญิงได้เล่นแต่บทเล็กๆ นอกจากนั้นผู้หญิงยังถูกจำกัดท่าทางการเต้นด้วยเครื่องแต่งกายที่ฟูยาว ขณะที่ผู้ชายแต่งตัวด้วยชุดรัดรูป ทำให้มีอิสระในการเคลื่อนไหวขามากกว่าไม่ว่า การหมุน การซอยเท้า การกระโดดซับซ้อนขึ้น รวมทั้งการยืนบนปลายเท้า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการเต้นบัลเล่ต์
Ballet-บัลเลต์ ว่า เป็นศัพท์ฝรั่งเศสที่มีรากฐานจากภาษาอิตาเลียน BALLARE, BALLO และ BALLETO หมายถึงการเต้นรำ ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ศตวรรษ 15-16 มีการรวมเอาการแสดงดั้งเดิมคือ Interludes ที่มีนักร้องและนักเต้น Masquerades นักแสดงสวมหน้ากากอ่านบทกวีหรือเล่าเรื่อง และ Mummers การเต้นสวมหน้ากาก เข้าด้วยกัน
จุดสูงสุดเปลี่ยนจากอิตาลีเป็นราชสำนักฝรั่งเศส สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (ค.ศ.1643-1715) การแสดงออกจากบอลรูมมาขึ้นเวทียกพื้น ผู้ชมที่เคยอยู่รอบเปลี่ยนมาอยู่ด้านหน้านักแสดง และแม้มีนักเต้นอาชีพหญิงมาปรากฏบนเวที แต่นักเต้นชายยังคงเป็นดาวดวงเด่นเพราะไม่มีกระโปรงบานหนักและวิกผมทรงหอคอยเป็นอุปสรรค เคลื่อนไหวได้อิสระทุกลีลา
บัลเลต์เป็นศิลปะเต็มรูปแบบในศตวรรษที่ 18 เล่าเรื่องโดยไม่มีคำพูด แยกตัวละครจากเพลง เน้นการแสดงลีลา เครื่องแต่งกายเปลี่ยนเป็นชุดรัดรูปแสดงความไม่มีแบบแผนและไม่หรูหรา แรงกระทบทางการเมือง เศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส และการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่งผลถึงศิลปะ บัลเลต์มาอยู่ในความสนับสนุนของชนชั้นกลาง แทนการอุปถัมภ์จากราชสำนัก มีการเปลี่ยนแปลงทางการแสดงอีกครั้ง การขึ้นปลายเท้าเป็นที่นิยมพร้อมเครื่องแต่งกายอย่างชุดฟิตช่วงอก กระโปรงบานทรงระฆัง สีขาวนวล ที่ยืนยงถึงทุกวันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น